การดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของไทย

การดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของไทย

การเป็นประธานอาเซียนของไทย (กรกฎาคม 2551 – ธันวาคม 2552)

    • ไทยเข้ารับตำแหน่งประธานอาเซียนต่อจากสิงคโปร์เมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2551 โดยการดำรงตำแหน่งของไทยอยู่ในช่วงที่คนไทย คือ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน และกฎบัตรอาเซียนซึ่งเปรียบเสมือนธรรมนูญที่จะวางกฎกติกาที่เป็นรากฐาน สำหรับการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2552

    • ไทยได้กำหนดเป้าหมายหลักในวาระการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของไทยไว้ 3 ประการ (3 ‘R’s) คือ

(1) การปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎบัตรอาเซียน (Realising Commitments under ASEAN Charter) คือ การจัดตั้งกลไกต่าง ๆ ที่ระบุไว้ในกฎบัตร โดยเฉพาะการจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชน การจัดตั้งคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียนที่กรุงจาการ์ตา
(2) การฟื้นฟูอาเซียนให้เป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Revitalising People-centred ASEAN Community) โดยส่งเสริมการตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างประชาคม อาเซียน
(3) การเสริมสร้างการพัฒนาและความมั่นคงของมนุษย์สำหรับประชาชนทุกคนในภูมิภาค (Reinforcing Human Development and Security for all) เพื่อให้ความร่วมมือของอาเซียนช่วยแก้ไขปัญหาของประชาชนและยกระดับชีวิตความ เป็นอยู่ของประชาชน

    • ไทยได้กำหนดหัวข้อหลักสำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 เมื่อวันที่ 27 ก.พ. –1 มี.ค. 2552 ที่ อ.ชะอำ ว่า “กฎบัตรอาเซียนเพื่อประชาชนอาเซียน” (ASEAN Charter for ASEAN Peoples) เพื่อย้ำเจตนารมณ์ของไทยที่จะเสริมสร้างการดำเนินงานของอาเซียนภายหลังการมี ผลบังคับใช้ของกฎบัตรให้ตอบสนองต่อผลประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง

    • ที่ประชุมได้รับรองปฏิญญาชะอำว่าด้วยแผนงานสำหรับประชาคมอาเซียน ซึ่งจะผนวกแผนงานสำหรับการจัดตั้งประชาคมการเมือง-ความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียนเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2558

    • ไทยได้ริเริ่มให้มีการพบปะอย่างไม่เป็นทางการระหว่างผู้นำอาเซียนกับผู้แทน สมัชชารัฐสภาอาเซียน เยาวชนอาเซียน และภาคประชาสังคมอาเซียน ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้าง ประชาคมอาเซียน
    • ในช่วงการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ อาเซียนครั้งที่ 42 ระหว่างวันที่ 17 – 23 ก.ค. 52 ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้ (1) รับรองกรอบขอบเขตอกนาจหน้าที่ (TOR) ของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียน ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนอาเซียน (ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights – AICHR) ซึ่งจะปูทางไปสู่การประกาศจัดตั้งองค์กรดังกล่าวระหว่างการประชุมสุดยอด อาเซียน ครั้งที่ 15 ในเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้ (2) รับรองร่างความตกลงว่าด้วยเอกสิทธิและความคุ้มกันอาเซียน (Draft Agreement on Privileges and Immunity of ASEAN) ซึ่งจะให้สถานะนิติบุคคลกับอาเซียนเพื่อให้มีการลงนามโดยรัฐมนตรีต่างประเทศ ระหว่างการประชุม สุดยอดฯ ครั้งที่ 15

    • ระหว่างการประชุมฯ สหรัฐอเมริกาได้ภาคยานุวัติสนธิสัญญาว่าไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า อาเซียนยังมีความสำคัญในสายตาของนานาประเทศ โดยเฉพาะประเทศซึ่งเป็นมหาอำนาจ ซึ่งต้องการให้อาเซียนมีบทบาทสนับสนุนการเสริมสร้างเสถียรภาพและสันติภาพ

  • นอกจากนี้ ไทยยังผลักดันความร่วมมือของอาเซียนเพื่อให้ตอบสนองต่อปัญหาที่มีผลกระทบต่อ ประชาชนได้อย่างทันท่วงที โดยเฉพาะการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน+3 เพื่อประสานแนวทางในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สาย พันธุ์ใหม่ (H1N1) เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2552

ใส่ความเห็น